ประวัติความเป็นมาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
-
กำเนิดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ในทวีปยุโรป อาทิ ฝรั่งเศส และอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศแม่แบบระบอบประชาธิปไตยได้ไปเห็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่น
โดยเฉพาะในประเทศฝรั่งเศสซึ่งมีการปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด จึงได้นำหลักการดังกล่าวมาปรับปรุงสภาจังหวัด
ให้มีอำนาจหารายได้และมีอิสระที่จะดำเนินการกิจการบางประการเองได้ โดยในปี พ.ศ. 2498 รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ได้ตราพระราช-บัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 ขึ้น โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า
โดยที่พระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ.2481 และที่แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ.2485 และพ.ศ.2487 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ให้สภาจังหวัด
เป็นเพียงสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ขาดอำนาจหน้าที่และกำลังเงินที่จะทำนุบำรุงท้องถิ่นในจังหวัดนั้น
-
ประวัติความเป็นมา องค์การบริหารส่วนจังหวัด
การจัดรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่น รูปแบบหนึ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
และมีการปรับปรุง แก้ไขและวิวัฒนาการมาตามลำดับโดยจัดให้มีสภาจังหวัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2476 ตามความในพระราชบัญญัติ
จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 ในฐานะของสภาจังหวัดขณะนั้นมีลักษณะเป็นองค์กรแทนประชาชนที่ทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษาหารือแนะนำ
แก่ คณะกรรมการจังหวัด ซึ่งยังมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่แตกต่างจากราชการส่วนภูมิภาคหรือเป็น หน่วยการปกครองท้องถิ่นตามกฎหมาย
ต่อมาในปี พ.ศ.2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ.2481 ขึ้น โดยมีความประสงค์ที่แยกกฎหมายที่ เกี่ยวกับสภาจังหวัดไว้
โดยเฉพาะสำหรับสระสำคัญ ของพระราชบัญญัติฯ นั้น ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงฐานะและบทบาทของ สภาจังหวัดไปจากเดิม กล่าวคือ
สภาจังหวัดยังคงทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษา ของคณะกรรมการจังหวัดเท่านั้น จนกระทั้งได้มีการ ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดินพ.ศ.2495 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับ บัญชาข้าราชาการและรับผิดชอบในการบริหารราชการ
ในส่วนจังหวัด ของกระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ โดยตรงแทนคณะกรรมการ จังหวัดเดิม โดยผลแห่งพระราชบัญญัติฯนี้ทำให้สภาจังหวัด
มีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เนื่องจากบทบาท และการดำเนินงานของสภาจังหวัดในฐานะที่ปรึกษาซึ่งคอยให้คำแนะนำ
และควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานของจังหวัด ไม่สู้จะได้ผลตามความมุ่งหมายเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะปรับปรุงบทบาทของสภาจังหวัด
ให้มีประสิทธิภาพโดยให้ ประชาชนได้เข้ามามี ส่วนร่วมในการปกครองตนเองยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ.2498 จึงส่งผลให้เกิด
“องค์การบริหารส่วนจังหวัด” ขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆต่อมาได้มีการประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515
ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท ว่าด้วยการจัดระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดินกำหนดให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่น
รูปแบบหนึ่ง เมื่อสภาจังหวัดแปรสภาพ มาเป็นสภาการปกครองส่วนท้องถิ่นจึงมีบทบาทและอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้น
เพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจ ในอำนาจหน้าที่และบทบาทของสภาจังหวัดจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
-
หลักการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 มีสาระสำคัญดังนี้.
1. “จังหวัด” กฎหมายฉบับนี้ให้คำนิยามไว้ว่า คือ “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” และเป็นนิติบุคคล
มีสมาชิกสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
ซึ่งเป็นการรับรองฐานะของจังหวัดอีกฐานะหนึ่งว่าเป็นหน่วยปกครองแยกออกไปจากระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
และส่วนภูมิภาค เพื่อให้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด คือกิจการที่แยกเป็นส่วนต่างหากจากราชการแผ่นดินส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
2. “ผู้ว่าราชการจังหวัด” เมื่อกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้ ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมี 2 ฐานะ คือ เป็นตัวแทนราชการส่วนกลางในการบริหาร
ราชการแผ่นดินซึ่งมีอำนาจหน้าที่บริหารตามกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ในราชการส่วนภูมิภาค
ทั้งเป็นหัวหน้าผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการพลเรือนของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งประจำอยู่ที่จังหวัดด้วย
ส่วนฐานะที่สอง คือ เป็นตัวแทนของประชาชน และเป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด (กิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด)
ควบคู่ไปกับสภาจังหวัด
3. “สภาจังหวัด” เป็นองค์การผู้แทนประชาชน เป็นฝ่ายที่จะร่วมดำเนินกิจการส่วนจังหวัด ควบคุม
ดูแลการปฏิบัติของฝ่ายผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้อนุมัติให้ความเห็นชอบในข้อบัญญัติจังหวัด และงบประมาณรายจ่ายรายได้ของจังหวัด
4. “กิจการส่วนจังหวัด” ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการท้องถิ่นหลายประการ
ซึ่งในกฎหมายฉบับนี้กำหนดไว้ถึง 20 ข้อ มีทั้งการรักษาความสงบเรียบร้อย การศึกษา การบำรุงศาสนา
การสาธารณูปการ การป้องกันรักษาโรค การกำจัดขยะมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล การจัดให้มีน้ำสะอาด การทำมาหากินของราษฎร เป็นต้น
5. “ข้าราชการส่วนจังหวัด” เมื่อกำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์การปกครองท้องถิ่นเป็นนิติบุคคลแล้ว
จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือปฏิบัติกิจการส่วนจังหวัด โดยกำหนดให้ผู้ว่า-ราชการจังหวัดที่ช่วยเหลือปฏิบัติกิจการส่วนจังหวัด
โดยกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจบรรจุ แต่งตั้ง อัตราเงินเดือน การเลื่อนขั้น เลื่อนระดับตลอดจนการบริหารบุคคลต่าง ๆ
แต่ในระยะเริ่มต้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดยังไม่มีรายได้เพียงพอ หากนำรายได้ที่มีอยู่มาเป็นเงินเดือนข้าราชการส่วน-จังหวัดก็จะไม่มี
เงินไปทำนุบำรุงท้องถิ่น กฎหมายฉบับนี้ได้บัญญัติไว้ในบทเฉพาะการว่าถ้ายังมิได้กำหนดชั้นและตำแหน่งใดเป็นข้าราชการส่วนจังหวัด
ให้ข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ กิจการนั้นดำเนินกิจการไปพลางก่อน และถ้าไม่มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ผู้ว่าราชการจังหวัดจะให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบก็ได้
-
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 (เดิม) ความในพระราชบัญญัตินี้
"จังหวัด" หมายความว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคล มีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการกิจการส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด มีหน้าที่ปฏิบัติการตามมติของสภาจังหวัด ให้จังหวัด มีข้าราชการส่วนจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและมีปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารองจากผู้ว่าราชการจังหวัด ให้นายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการส่วนจังหวัด และมีหน้าที่ในการบริการกิจการส่วนจังหวัดในเขตอำเภอ สมาชิกสภาจังหวัดให้อยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี
จังหวัด แบ่งการบริหารออกเป็น
1. สำนักงานเลขานุการจังหวัด มีหน้าที่ เกี่ยวกับกิจการทั่วไปของจังหวัดมีเลขานุการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง
2. ส่วนต่าง ๆ ซึ่งจังหวัดตั้งขึ้นข้าราชการส่วนจังหวัดมีฐานะเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน และให้นำกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับโดยอนุโลม
อำนาจหน้าที่ส่วนจังหวัด
ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย จังหวัดอาจดำเนินกิจการส่วนจังหวัดภายในเขตจังหวัดนอกเขตเทศบาล และเขตสุขาภิบาล ดังต่อไปนี้
1. การรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
2. การศึกษา การทำนุบำรุงศาสนา และการส่งเสริมวัฒนธรรม
3. การสาธาณูปการ
4. การป้องกันโรค การบำบัดโรค และการจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล
5. การจัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
6. การจัดให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
7. การรักษาความสะอาดของถนน ทางเดิน และที่สาธารณะ
8. การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
9. การจัดให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
10. การจัดให้มีโรงฆ่าสัตว์
11. การจัดให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
12. การจัดให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
13. การจัดให้มีสุสานและฌาปนสถาน
14. การจัดให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ สวนสัตว์ตลอดจนสถานที่ประชุมอบรมราษฎร
15. การบำรุงและการส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
16. การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น
17. การจัดการคุ้มครอง ดูแล และหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินส่วนจังหวัด
18. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
19. การพาณิชย์
20. กิจการอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นเพื่อประโยชน์ของราษฎรและท้องถิ่น หรือกิจการอื่นซึ่งกฎหมายบัญญัติ ให้เป็นกิจการส่วนจังหวัด
ทรัพย์สินส่วนจังหวัดและการคลังงบประมาณประจำปีของจังหวัดต้องตราเป็นข้อบัญญัติจังหวัด จังหวัดมีรายได้ ดังนี้
1.ภาษีอากรตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
2. ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
3. รายได้จากทรัพย์สินส่วนจังหวัด
4. รายได้จากการสาธารณูปโภคและการพาณิชย์ของจังหวัด
5. พันธบัตรหรือเงินกู้ตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
6. เงินกู้จากกระทรวงทบวงกรม นิติบุคคลหรือองค์การต่าง ๆ ทั้งนี้จังหวัดต้องได้รับอนุญาตจาก รัฐมนตรี
7. เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
8. เงินที่มีผู้อุทิศให้เพื่อเป็นการกุศลสาธารณประโยชน์
9. เงินรายได้อื่นใดตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้
จังหวัดมีรายจ่าย ดังนี้
1. เงินเดือน
2. ค่าจ้าง
3. เงินตอบแทนอื่น ๆ
4. ค่าใช้สอย
5. ค่าวัสดุ
6. ค่าครุภัณฑ์
7. ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้างและทรัพยสินอื่น ๆ
8. เงินอุดหนุน
9. รายจ่ายอื่นใดตามข้อผูกพัน หรือตามที่มีกฎหมายหรือระเบียบของกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้
การควบคุม
รัฐมนตรีมีอำนาจที่จะยุบสภาจังหวัดเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ในคำสั่งยุบเช่นนี้ต้องแสดงเหตุผล และมีกำหนดให้เลือกตั้งสมาชิกใหม่ภายในเก้าสิบวัน
-
หลักการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี
1.2 กระทรวงหรือทบวง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
1.3 ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
1.4 กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัด
สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงทั้งหมดมีฐานะเป็นนิติบุคคล การจัดตั้งหรือ
ยุบต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
-
1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี
1.2 กระทรวงหรือทบวง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
1.3 ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
1.4 กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัด
สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงทั้งหมดมีฐานะเป็นนิติบุคคล การจัดตั้งหรือ
ยุบต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ
-
2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
2.1 จังหวัด รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบและ
เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
2.2 อำเภอ เป็นหน่วยงานราชการรองจากจังหวัด ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบและ
เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
-
3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
3.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด
3.2 เทศบาล
3.3 องค์การบริหารส่วนตำบล
3.4 ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด (กรุงเทพมหานคร,เมืองพัทยา)
-
มีการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับประชาชน) และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวด 9 รัฐต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชน ในท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การปกครอง การ บริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภาท้องถิ่น และคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น
ผลจากการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ (ฉบับประชาชน) ทำให้รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นเปลี่ยนแปลง ไปด้วย โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนจังหวัด
มีพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 โดยให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2498
-
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540
มาตรา 4 กำหนดบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติ หรือคำสั่งใดที่อ้างถึงผู้ว่าราชการ จังหวัด ในฐานะผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการส่วนจังหวัด ข้าราชการส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือสภาจังหวัด ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบัญญัติ มติ หรือคำสั่งนั้นอ้างถึงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติ หรือคำสั่งใด ได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือคณะผู้บริหารท้องถิ่น ให้ถือว่า นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจเช่นว่านั้น เท่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเษกษา
- จังหวัด หมายความว่า จังหวัดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
- ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด หมายความว่า ข้าราชการที่ปฏิบัติกิจการขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัด และได้รับเงินเดือนโดยมีอัตราเงินเดือน และตำแหน่งในงบประมาณที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด กำหนดขึ้น
หมวดทั่วไป มาตรา 7 ในจังหวัดหนึ่งให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้
มาตรา 8 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการส่วนท้องถิ่นเขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่เขตจังหวัด
หมวด 2 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาตรา 10 อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีกำหนดคราวละสี่ปี นับแต่วันเลือกตั้ง สมาชิกภาพ ของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง
หมวด 3 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาตรา 35 ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนหนึ่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
- ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ประกาศชื่อผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัด
- ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้ารับหน้าที่ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
มาตรา 45 องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการภายในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังต่อไปนี้
1. ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
2. จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
3. สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
4. ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
5. แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
6. อำนาจหน้าท่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 เฉพาะภายในเขตสภาตำบล
7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
*** (7 ทวิ) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น ( แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542)
8. จัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขต
องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
ร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดใน
กฎกระทรวง
9. จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น กำหนดให้เป็น
อำนาจ หน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาค อาจมอบให้องค์การ บริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 50 การดำเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีลักษณะเป็นการพาณิชย์อาจทำได้ โดยการตราเป็นข้อบัญญัติ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
-
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 (ฉบับปัจจุบัน)
หมวด 1 บททั่วไป ..................... มาตรา 7 ในจังหวัดหนึ่งให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วย สภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และมีอำนาจ หน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่
มาตรา 8 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นเขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัดได้แก่เขตจังหวัด
หมวด 2 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ..................... มาตรา 9 สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกิน ห้าแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ยี่สิบสี่คน จังหวัดใดมีราษฎรเกิน ห้าแสนคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สามสิบคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินหนึ่งล้านคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สามสิบหกคน จังหวัดใดมีราษฎรเกิน หนึ่งล้านห้าแสนคนแต่ไม่เ กินสองล้านคน ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สี่สิบสองคน จังหวัดใดมีราษฎรเกินสองล้านคน ขึ้นไป ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สี่สิบแปดคน
มาตรา 10 อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีกำหนดคราวละสี่ปีนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง
มาตรา 17 ให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนหนึ่ง และรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสองคน
- ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้ารับหน้าที่ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้รับเลือกตั้งเป็นนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัด
หมวด 3 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ..................... มาตรา 35
ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนหนึ่งซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของ ประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
มาตรา 35/2
ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดดํารงตําแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระอยู่ในตําแหน่งคราวละ สี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดํารงตําแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ ในกรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดดํารงตําแหน่งไม่ครบระยะเวลาสี่ปีก็ให้ถือว่าเป็นหนึ่งวาระ และเมื่อได้ดํารงตําแหน่งสองวาระติดต่อกันแล้วจะดํารงตําแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีนับแต่วันพ้นจากตําแหน่ง
มาตรา 35/3
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งมิใช่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ช่วยเหลือในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมอบหมายได้ตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
( 1 ) ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสี่สิบแปดคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสี่คน
( 2 ) ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสามสิบหกคนหรือสี่สิบสองคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสามคน
( 3 ) ในกรณีที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดยี่สิบสี่คนหรือสามสิบคน ให้แต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินสองคน
หมวด 4 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ..................... มาตรา 45
(1) ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
(2) จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
(3) สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
(4) ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
(5) แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
(6) อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 เฉพาะภายในเขตสภาตำบล
(7) คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(7 ทวิ ) บำรุงรักษา ศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
(8) จัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(9) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
บรรดาอำนาจหน้าที่ใดซึ่งเป็นของราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาค อาจมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดปฏิบัติได้ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 50
การดำเนินกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีลักษณะเป็นการพาณิชย์อาจทำได้โดยการตราเป็นข้อบัญญัติ ทั้งนี้ ตามระเบียบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
มาตรา 51 ข้อบัญญัติจะตราขึ้นได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(2) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราข้อบัญญัติหรือให้มีอำนาจตราข้อบัญญัติ
(3) การดำเนินการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามมาตรา 50
มาตรา 52
ร่างข้อบัญญัติจะเสนอได้ก็แต่โดยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าชื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
การเสนอร่างข้อบัญญัติเกี่ยวกับการเงินที่จะต้องมีคำรับรองของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
หมวด 5 การงบประมาณและการคลัง ..................... มาตรา 58
งบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ทำเป็นข้อบัญญัติ ถ้าข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณออกไม่ทันปีงบประมาณใหม่ ให้ใช้ข้อบัญญัต ิงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณที่แล้วนั้นไปพลางก่อน
งบประมาณรายจ่ายจะมีได้เฉพาะในเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) กิจการที่ระบุไว้ในมาตรา 45 และมาตรา 46
(2) กิจการอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 73 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมีรายได้ ดังต่อไปนี้
(1) ภาษีอากรตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(2) ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(3) รายได้จากทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
(4) รายได้จากสาธารณูปโภคขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
(5) รายได้จากการพ าณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
(6) พันธบัตรหรือเงินกู้ตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(7) เงินกู้จากกระทรวง ทบวง กรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่าง ๆ ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
(8) เงินอุดหนุนหรือรายได้อื่นตามที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐจัดสรรให้
(9) เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นที่มีผู้อุทิศให้
(10) รายได้อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
มาตรา 74 องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมีรายจ่าย ดังต่อไปนี้
(1) เงินเดือน
(2) ค่าจ้าง
(3) เงินตอบแทนอื่น ๆ
(4) ค่าใช้สอย
(5) ค่าวัสดุ
(6) ค่าครุภัณฑ์
(7) ค่าที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และทรัพย์สินอื่น ๆ
(8) เงินอุดหนุน
(9) รายจ่ายอื่นใดตามที่มีข้อผูกพัน หรือตามที่มีกฎหมายหรือระเบียบของกระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้
-
ฝ่ายผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด
จำนวน 3 คน ทำหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการอันเป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ตามมติสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540
หรือหน้าที่ตามกฏหมายอื่นบัญญัติไว้
การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2547 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในประเทศไทย
จากประชาชนโดยตรง ด้วยการเลือกตั้ง เมื่อ วันที่ 14 มีนาคม 2547
รายนามนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มาจากการเลือกต้องของประชาชน
ปี พ.ศ. 2547 นางรัชนี พลซื่อ
ปี พ.ศ. 2551 นายมังกร ยนต์ ตระกูล
ปี พ.ศ. 2555 นายมังกร ยนต์ ตระกูล
ปี พ.ศ. 2563 นายเอกภาพ พลซื่อ
ปี พ.ศ. 2565 เศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์